วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิดอย่างเป็นระบบ และถ่ายทอดออกมาทางผังความคิด จะช่วยให้สามารถพัฒนาสมองของผู้เรียนทั้งซีกซ้ายและซีกขวา และเป็นการสรุปเนื้อหา หรือบทเรียนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
                การใช้ผังความคิดเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีการเรียนรู้ 4 ประการด้วยกัน
                1. การแยกแยะข้อมูลเพื่อให้เห็นองค์ประกอบหลักที่เชื่อมโยงกันอยู่อย่างชัดเจน สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ได้ง่ายขึ้น
                2. หากสมองมีการจัดโครงสร้างความรู้ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ จะช่วยเรียกความรู้เดิมที่มีอยู่ในโครงสร้างทางปัญญาออกมาใช้เชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ได้ง่ายขึ้น
                3.ผังความคิด ที่แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบหลักของเรื่อง มีลักษณะเป็นภาพซึ่งง่ายต่อการที่สมองจะจดจำมากกว่าข้อความที่ยืดยาวต่อกัน
                4. การใช้ผังความคิด ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งภาพและข้อความ สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างตื่นตัว (Active learning) เนื่องจากผู้เรียนจะต้องมีทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด จึงจะสามารถทำผังกราฟิกออกมาได้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย

ข้อดีของการสอนแบบ Mind Mapping
    1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
    2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
    3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
    4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
    5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ


"หมวกความคิด 6 ใบ"
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้เอื้อต่อการพัฒนาการคิดมีหลาย ให้วางเรียงขนานกันไว้แล้วประเมินผลได้เสียอย่างเป็นระบบ
          1. หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลที่เป็นกลาง มีลักษณะเป็นปรนัย ถ้าสมาชิกสวมหมวกสีขาวจะ หมายถึง การขอร้องให้สมาชิกคนอื่นเงียบ ถ้าผู้สวมหมวกสีขาวถามผู้ใด ผู้นั้นต้องให้ข้อเท็จจริง ความรู้ หรือข้อมูลแก่สมาชิก
          2. หมวกสีแดง สีแดงแทนความรู้สึก อารมณ์ สัญชาตญาณ ความหยั่งรู้ ถ้าสวมหมวกสีแดง คือต้องการให้สมาชิกแสดงความรู้สึกของตนต่อเรื่องราวหรือปัญหานั้น ๆ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี กลัว ชื่นชม สงสัย
          3. หมวกสีดำ เป็นสีมืดครื้ม จึงแสดงความคิดทางลบ เหตุผลในการปฏิเสธ การคิดแบบหมวกสีดำช่วยป้องกันไม่ให้คิดหรือตัดสินใจอย่างง่าย ๆ การสวมหมวกสีดำคือความต้องการให้บอกข้อบกพร่อง ทำให้สามารถ มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้า รวมทั้งช่วยตรวจสอบหาเหตุผล หาผลกระทบ หาความเหมาะสม และการ สำรวจความเป็นไปได้ เราจะไม่ใช้หมวกสีดำในกรณีที่ต้องการความคิดใหม่ ๆ
          4. หมวกสีเหลือง สีเหลืองเป็นสีที่สว่างไสว จึงแทนสิ่งที่ถูกต้องหรือ การให้กำลังใจ หมวกสีเหลืองจึง หมายถึงเหตุผลทางบวก การสร้างความมั่นใจ เหตุผลในการยอมรับหรือประโยชน์ การสวมหมวกสีเหลือง คือ ความต้องการข้อมูลด้านบวก จุดเด่น คุณค่า ประโยชน์ต่อส่วนรวม
          5. หมวกสีเขียว เปรียบสีเขียวกับธรรมชาติ คือ ความเจริญเติบโต ความคิดใหม่ หมวกสีเขียวคือ การหลีกความคิดเก่า ๆ มุมมองเก่า ๆ ไปสู่ความคิดใหม่ มุมมองใหม่ ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างสรรค์ทุกชนิด ทุกประเภท
          6. หมวกสีฟ้า เปรียบสีฟ้าเหมือนท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง หมวกสีฟ้า จึง หมายถึงการควบคุมและจัดระเบียบกระบวนการและขั้นตอนการใช้หมวกสีอื่น ๆ นั่นเอง รวมทั้ง การควบคุมบทบาทการทำงานของสมาชิกในกลุ่มและกระบวนการทำงาน ตลอดจนการประสานความคิดต่าง ๆ ให้สอดคล้องต้องกัน ผู้สวมหมวกสีฟ้าจะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมกระบวนการคิดของกลุ่ม ฉะนั้นหมวกสีฟ้าก็คือโครงสร้างของกระบวนการคิดนั่นเอง
          แนวคิดของ "หมวกความคิด 6 ใบ" สามารถนำมาดัดแปลงใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทุกระดับ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ครูอาจใช้สื่อคือหมวก 6 ใบ ที่เป็นรูปธรรม คือ มีหมวกตามสีต่าง ๆ ที่กำหนดเป็นสื่อการสอน แต่ถ้าเป็นการสอนในระดับอุดมศึกษา ครูไม่จำเป็นต้องใช้หมวกจริง เพียงแต่ทำความเข้าใจแนวคิดและความหมายของหมวกแต่ละ สีว่าเป็นการกำหนดให้นักศึกษาอภิปรายหัวข้อเรื่องหรือประเด็นนั้นในแนวคิดใดก็เพียงพอแล้ว เพราะเมื่อนักศึกษาได้รับการฝึกฝนให้ใช้ระบบ การคิดแบบคู่ขนานบ่อย ๆ ในที่สุดเขาจะสามารถเชื่อมโยงสี ของหมวกกับแนวคิดที่เขาจะอภิปรายได้อย่างคล่องแคล่ว

การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้ชีวิตแบบสวมหมวกคิด 6 ใบ จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น