วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส41101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมไทย
เรื่อง สังคมมนุษย์ เวลา 2 ชั่วโมง

สาระสำคัญ
        มีทฤษฎีเกี่ยวกับการกำเนิดสังคมมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการพื้นฐาน สังคมมีองค์ประกอบ
และมีปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต้องมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
       วิเคราะห์ทฤษฎีการกำเนิดสังคมที่เป็นที่ยอมรับได้อย่างสมเหตุสมผล อธิบายลักษณะของ
สังคมมนุษย์ ความต้องการของมนุษย์และองค์ประกอบของสังคม และอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้มนุษย์
ต้องมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้
จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ตอบคำถามเป็นรายบุคคลได้
2. อธิบายทฤษฎีการกำเนิดสังคมที่เป็นที่ยอมรับได้
3. วิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ได้
4. อธิบายองค์ประกอบของสังคมได้
5. อธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต้องมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้
6. วิเคราะห์คำหรือวลีสำคัญที่เป็นความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย ตามสาระ
การเรียนรู้ที่กำหนดได้
7. อธิบายและสรุปวิธีเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้ได้
8. กลุ่มย่อยร่วมกันเรียนรู้และเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้ตามสาระการเรียนรู้ได้
สมบูรณ์ สวยงาม และน่าสนใจ
สาระการเรียนรู้
ทฤษฎีกำเนิดสังคมมนุษย์ ลักษณะสังคมมนุษย์ องค์ประกอบทางสังคม ความต้องการของ
มนุษย์และมูลเหตุที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. สำรวจความพร้อมของนักเรียน
2. นักเรียนแบ่งกลุ่มย่อย และปฏิบัติตามใบงานที่ 1
3. แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้และคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนา
ขั้นสอน
1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา แนะนำ สาระการเรียนรู้ แนะนำแหล่งเรียนรู้ วิธีการ
เรียนรู้ วิธีการวัดผลประเมินผล
2. ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนแผนผังความคิดประเภทต่าง ๆ
3. ครูและนักเรียนรวมกับทบทวนวิธีการเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้ ตามใบความรู้
ที่ 1 และตัวอย่างแผนผังความคิดแบบรากไม้
4. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายและซักถามเพิ่มเติม
5. ครูนำให้สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติตามใบงานที่ 1 รับผิดชอบร่วมกัน ร่วมกันเรียนรู้ตาม
สาระการเรียนรู้ที่กำหนด เอาใจใส่ สนใจใฝ่เรียนรู้อย่างแท้จริง
6. ตัวแทนกลุ่มรับอุปกรณ์ในการเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้ ใบงานที่ 1 และใบ
ความรู้ที่ 1 ถึงใบความรู้ที่ 4
7. สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามใบงานที่ 1
8. สมาชิกทุกคนศึกษาใบความรู้ที่ 1 ถึงใบความรู้ที่ 4
9. ประธานกลุ่มนำสนทนาเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเขียนคำหรือวลีสำคัญที่วิเคราะห์ได้จาก
การศึกษาใบความรู้เป็นความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย ใบความรู้ละ 3 คำ เขียนลง
ในกระดาษเปล่าที่แจกให้แล้วค่อยเพิ่มด้วยวาจาในภายหลัง เพื่อให้การเขียนแผนผังความคิดแบบราก
ไม้มีความสมบูรณ์ตามสาระการเรียนรู้
10. ประธานให้สมาชิกแต่ละคนเสนอคำหรือวลีสำคัญตามลำดับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในใบ
ความรู้ทีละคน เริ่มจากความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มช่วย
วิเคราะห์และขัดเกลาข้อความ ให้กะทัดรัด สื่อความหมายได้ชัดเจน ปฏิบัติเช่นนี้จนครบตามสาระ
การเรียนรู้ที่กำหนดและสมาชิกสามารถเสนอคำหรือวลีเพิ่มเติมได้
11. เลขานุการกลุ่ม และผู้สรุปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายในกิจกรรมข้อ 10 และ
จัดทำร่างแผนผังความคิดแบบรากไม้
12. ระหว่างนักเรียนกำลังร่วมกันเรียนรู้ จากใบความรู้ ครูคอยกำกับ คอยแนะนำช่วยเหลือ
ทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง
13. ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอผลงานการเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้หน้าชั้น
เรียนประมาณ 5 กลุ่ม
ขั้นสรุปบทเรียน
1. นักเรียนตอบคำถามครูเป็นรายบุคคล
2. นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ตามใบงานที่ 2
3. ครูเสนอจุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุง ของผลงานและการร่วมมือกันเรียนรู้
4. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปบทเรียน
5. นักเรียนสรุปย่อสาระการเรียนรู้ลงในสมุดของตน
6. ให้แต่ละกลุ่มนำผลงานไปแก้ไขปรับปรุงให้สมบูรณ์ สวยงาม และน่าสนใจ แล้วนำ
กลับมาส่งครูในชั่วโมงหน้า
7. ครูแนะนำให้นักเรียนไปศึกษาเอกสารหรือหนังสือประกอบการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา
สาสนาและวัฒนธรรม ( 41101) จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ห้องสมุดกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
ห้องสมุดโรงเรียน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. ใบงาน 1 การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่ม
2. ใบความรู้ที่ 1 วิธีการเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้
3. ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ทฤษฎีกำเนิดสังคมมนุษย
4. ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์
5. ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง ความหมายของสังคมและองค์ประกอบของสังคม
6. ใบงานที่ 2 แบบทดสอบย่อย
7. ตัวอย่างแผนผังความคิดแบบรากไม้
8. กระดาษอัดสำเนาเปล่า ดินสอ ยางลบ ดินสอสีไม้
9. เอกสาร/หนังสือประกอบการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( 41101)
การวัดผลและประเมินผล
1. แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
3. แบบประเมินผลงานกลุ่ม
4. การทำกิจกรรมทดสอบย่อย
5. ตรวจผลงาน

กิจกรรมที่ 10




         1)กรณีเขาพระวิหาร นับเป็นกรณีศึกษาที่มีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียทั้งดินแดนและศักดิ์ศรีของประเทศนับเป็นความเพลี่ยงพล้ำของไทยในการดำเนินนโยบายต่างประเทศประการหนึ่ง ซึ่งนักรัฐศาสตร์ทั่วไปจะต้องศึกษาถึงมูลเหตุและผลลัพธ์ของกรณีดังกล่าว อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพิจารณาดำเนินมาตรการใด ๆ ในอนาคต

ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนทิวเขาพมนดงรัก ทิวเขากั้นระหว่างประเทศกัมพูชากับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตัวปราสาทตั้งอยู่ในบริเวณเขตก้ำกึ่งระหว่างอำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหารของกัมพูชา และบ้านภูมิซรอล อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ของไทยปราสาทเขาพระวิหาร ในภาษาเขมรเรียกว่า "เปรี๊ยะ วิเฮียร์" (Phrea vihear) การก่อสร้างไม่เคยปรากฎหลักฐานบนศิลาจารึกที่แสดงถึงวันเดือนปีในการก่อสร้างเขาพระวิหารในช่วงระยะเวลากว่า ๓๐๐ ปี การก่อสร้างอาจจะเริ่มขึ้นในช่วงสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (ค.ศ. ๘๘๙-๙๑๐) เเละสิ้นสุดในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (ค.ศ.๑๑๑๓-๑๑๔๕)
            2) กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
ใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จะทำให้เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเปลี่ยนแปลงไป
      
       กล่าวคือ กัมพูชาเริ่มเปิดเกมรุกด้านดินแดนกับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่กัมพูชาต้องการครอบครองด้วยการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก จากนั้นเมื่อขึ้นมรดกโลกสำเร็จเส้นเขตแดนก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะส่งผลทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ โดยกินพื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
        ที่สำคัญคือ ประเทศไทยและกัมพูชายังมีการประกาศอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย ซึ่งมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 34,000 ตารางกิโลเมตร โดยฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2515 ซึ่งวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่มาจรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่ฝรั่งเศส โดยลากเส้นไหล่ทวีปพาดผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดของไทย
       ขณะที่ฝ่ายไทยประกาศเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 โดยวัดจากเส้นเขตแดนทางบกที่จรดริมทะเลตามที่ปรากฏในแผนที่เดินเรืออังกฤษ หมายเลข 2414 โดยเส้นในช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของ กัมพูชา ส่วนเส้นช่วงที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชา ซึ่งพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนั้นทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถ ตกลงกันได้
         และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลกลายเป็น ปัญหาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเนื่องจากฝ่ายกัมพูชาต้องการครอบครอง และถูกนำไปเชื่อมโยงกับการนำ ปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะในการเป็นมรดกโลกนั้นจะต้องมีเขตพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า จะเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของไทย
            3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร  
              นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีในยุคที่มีการเซ็น MOU ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นคนเซ็นลงนามในหนังสือดังกล่าวร่วมกับ นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชวนนท์ อินทรโกมาลสุตย์
ทั้งๆ ที่ความจริงก็คือ MOU ฉบับดังกล่าวเป็น MOU ซึ่งทำให้ไทยต้องสูญเสียอธิปไตยในผืนแผ่นดินของตัวเองด้วยการยอมรับแผนที่ มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ระวางดงรักหรือ ANNEX1 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนเป็นจำนวนมากโดยกินพื้นที่ตั้งแต่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตามขอบชายแดนตลอดไป จนถึงจันทบุรีและตราด
         ทั้งนี้ MOU 43 คือการร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ข้อ ก. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ ลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 112 หรือปี ค.ศ.1893 ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศกปี 122 ปี ค.ศ. 1904  ข้อ ข. สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 ปี ค.ศ. 1907 หรือว่า 2450 กับพิธีศาลว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ ปี ค.ศ. 1907
     
              4. กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
 5ม.ค. นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40  ส.ว. เปิดเผยว่า  วันนี้ตนพร้อมด้วย ส.ว. ในกลุ่มอีก  2 คนได้เดินทางลงพื้นที่ ต.บ้านใหม่นองไทร  อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดที่ 7 คนไทยถูกจับ ได้พบกลุ่มชาวบ้านกว่า 10 คนทั้งหมดล้วนมีเอกสารสิทธิในที่ดินที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นของเขาทั้ง นส. 3 ก. นส.  2 หรือ สค 1 โดยทั้งหมดเสียภาษีให้กับรัฐบาลไทยทุกปีแต่ไม่สามารถเข้าไปทำมาหากินได้   เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ยูเอ็นได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตอพยพหนีภัยสงครามของชาวเขมร แต่เมื่อสงครามจบสิ้นก็ไม่ยอมกลับประเทศ
                   โดยเฉพาะในจุดที่ 7 คนไทยถูกจับนั้นเป็นของไทยแน่นอนเพราะมีหลักฐานว่าเป็นที่ดินของนายเบ พูลสุข ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ยังเหลือแต่ลูกสาว แต่ผู้นำรัฐบาลโดยเฉพาะนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กลับไปยอมรับว่าคนไทยทั้ง 7 คนรุกล้ำเข้าในแผ่นดินกัมพูชา ปัญหาเหล่านี้เคยร้องเรียนตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ครั้งนั้นพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี
                     วันนี้เราปล่อยให้ไปขึ้นศาลแล้ว ถ้าขอกลับมาได้โดยยอมรับคำพิพากษาก็จะเกิดปัญหาทันที เพราะว่าเขตแดนที่ปักหลักเขตที่เห็นในภาพ ตรงนั้นไม่ใช่เขตแดนจริงตามที่ได้ข้อมูลจากทางราชการ แต่เป็นการปักเขตแดนในสมัยสงคราม ซึ่งยังไม่มีการวัดเขตแดนจริง ถ้ารัฐบาลดำเนินการพลาด เรื่องนี้ก็จะคล้ายกับเขาพระวิหารเมื่อถามว่าหากเข้าสู่กระบวนการของการพิจารณาไปแล้วจะมีปัญหาในการเจรจาเรื่องเขตแดนในอนาคตหรือไม่ อย่างที่บอกว่าดินแดนตรงนั้นเข้าปักเขตขึงลวดหนามตอนที่รบกัน เพื่อกั้นเขตไว้ แต่กรณีนี้เป็นการคบเด็กสร้างบ้าน เดินเข้าไปอย่างหน้าตาเฉย ตนบังเอิญเจอ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ มีหลายคนก็บอกว่านายพนิช อ่อนหัดจริงๆ เป็นถึง ส.ส. แต่กลับให้กลุ่มพันธมิตร ใช้ประโยชน์ตนเอง ส่วนวิธีการใช้คนไปทำงาน โดยปกตินายกก็สามารถใช้ได้ ไม่เว้นแม้แต่งานลับนั้น ตนถือว่าทำได้แต่ต้องไม่ละเมิดกฎหมายอันไม่ชอบ โดยเฉพาะกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้าเป็นสหรัฐอเมริกา ควรต้องลาออกแล้ว เพราะมีการทำผิดหลายรอบ แสดงให้เห็นว่าไม่มีทักษะ


วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 9

ครูควรมีคุณสมบัติอย่างไร

๑. มีความเมตตากรุณาอย่างแท้จริง คือเมตตากรุณาโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่คิดทวงคืนจากศิษย์ กระทำอย่าง ไม่ขาดตอนและไม่ลดละ ทำเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำ ให้เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ ควรให้ ไม่ว่าจิตใจของครู ในขณะนั้น จะเป็นอย่างไร บ่อของความเมตตา กรุณา ในใจของครู ยังมั่นคง เต็มเปี่ยม พร้อมที่จะเผื่อแผ่ไหลหลั่ง เจือจานลูกศิษย์ได้เสมอ
๒. มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ตลอดชีวิต กัลยาณมิตร แปลตามตัวก็คือ เพื่อนที่ดี สมเด็จ พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ท่านรับสั่งเสมอว่า ผู้ใด มีพระองค์ท่าน เป็นกัลยาณมิตร ผู้นั้นจะมีชีวิตรอด ความรอดนั้นคือรอดจากความทุกข์ รอดจากสิ่งที่เป็นปัญหา
ไม่ว่าศิษย์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทำงานการมีตำแหน่งหน้าที่อย่างใด ครูก็ยังห่วงใยติดตาม ด้วยความหวังดี ไม่ว่าศิษย์ จะเป็นคนอย่างไร จะไปประกอบอาชีพใด มีชีวิตหักเหอย่างไร ถ้าได้ทราบว่า ลูกศิษย์ไปตกอยู่ในอันตราย หรือตกอยู่ในความเขลา หรือกำลัง คิดจะทำอะไรที่ผิด ครูซึ่งเป็น กัลยาณมิตร ของศิษย์ จะให้คำแนะนำ ตักเตือน ว่ากล่าว แต่หากลูกศิษย์ไปดี เจริญก้าวหน้า ทำตน เป็นประโยชน์แก่สังคม ครูก็อนุโมทนา ชื่นชมยินดี แม้ลูกศิษย์ จะไม่ทราบ แต่ครูก็ชื่นใจ และมีสิทธิ ที่จะรู้สึกเช่นนั้นได้
๓. มีความซื่อตรงต่ออุดมคติของความเป็นครู ในฐานะที่เรายังเป็นปุถุชน บางครั้งก็เกิดความหวั่นไหว เพลี่ยงพล้ำ ศรัทธาที่มีต่ออุดมคติ ที่ตั้งไว้ก็คลอนแคลนไปบ้าง เพราะเหตุปัจจัยบางอย่างชวนให้ท้อแท้ เหน็ดเหนื่อย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ แต่ครูต้องมีเจตนารมณ์ ที่แน่วแน่ ในการมุ่งสร้างสังคม สร้างชาติ บ้านเมือง ด้วยการสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองดี ผลพลอยได้ก็คือการสร้างโลกให้น่าอยู่ หากครูสิ้นหวัง เสียอาชีพเดียว โลกจะล้มละลาย สภาวะของสังคมที่เป็นอยู่ทุก- วันนี้ ก็เพราะความอ่อนแอของครู บางส่วน ที่จิตวิญญาณของความเป็นครู ไม่เข้มแข็งพอ
๔. อดทนและเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ผู้เป็นครูไม่สามารถปฏิเสธการร่วมรับผิดชอบในความเสื่อมหรือ ความเจริญ ของสังคม ที่เกี่ยวข้องได้ เราปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าสภาวะของสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ผลิตผลของการศึกษา และเราพอใจแล้วหรือยัง แม้จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย และมีภาระส่วนตัว มากเพียงใด ครูก็ยังคงต้องเป็นผู้เสียสละ เห็นแก่ธรรมะ และความถูกต้องของสังคม
๕. เป็นเสมือนประภาคารหรือดวงประทีปของศิษย์ ครูเป็นผู้อบรมพัฒนาจิตของศิษย์ให้มีสติปัญญา อันถูกต้อง เป็นสัมมา ทิฏฐิ ในทางธรรม ท่านเปรียบความสำคัญของสัมมาทิฏฐิว่า เป็นเสมือนเข็มทิศ แผนที่ รุ่งอรุณ หรือดวงประทีปส่องทาง เพราะสติปัญญา ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ จะช่วยไม่ให้ชีวิตนั้น หลงทาง จะรู้ว่าอะไรคือความถูกต้อง แม้มีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้น ก็แก้ไขได้ด้วยสติปัญญา
๖. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครูต้องสามารถกระทำได้อย่างที่สอนศิษย์ ใครจะทำอย่างไรก็ช่างเขา แต่ผู้เป็นครู จะต้องมีจุดยืน ให้เห็นว่า นี่คือความถูกต้อง ถ้าลูกศิษย์ ไปประสบปัญหาชีวิต แล้วกลับมา หาครูเพื่อขอคำปรึกษา ครูต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง ต้องชี้ให้ลูกศิษย์เห็น และกลับไปสู้ใหม่ ด้วยความถูกต้อง โดยธรรม นี่คือวิธีที่เราจะยกฐานะของสังคมให้เป็นโลกของมนุษย์ มิใช่เป็นเพียง โลกของคน
แหล่งที่มา: http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Dokya/D117/055.html

กิจกรรมที่ 8

     ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
                วัฒนธรรมองค์กร  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์การนั้น  เกิดจากการเชื่อมโยง  ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล  ค่านิยม  ความเชื่อ  ปทัสถาน  และการกระทำของบุคคล  ของกลุ่ม  ขององค์กร  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ (Organization Theory)
   แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20
 ทฤษฎีเป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบนี้ (If ……then) ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
 จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล 2528 อ้างจาก Henry L. Tosi)
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
จะเห็นได้ว่าหากผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างมีความชัดเจน วัฒนธรรมดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและได้รับการดูแลให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง ในขณะที่ผู้นำซึ่งมีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การแต่ยังไม่มีความชัดเจนในวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างขึ้น กรณีนี้ผู้นำจะให้ความสนใจต่อการกำหนดทิศทางของ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสียไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ UPS และตัวอย่างของบริษัท Honda (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อถัดไป) ทำให้ตระหนักถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การในการควบคุมพฤติกรรมพนักงาน

       www.sbdc.co.th/filedownload/culture_total.pdf