วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

        
 1) ในปัจจุบัน เด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
-ไม่เหมาะสม
 เนื่องจากในปัจจุบัน เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและอันตรายต่อสุขภาพ ด้วยสาเหตุจากการละเลยไม่ดูแลสุขภาพและที่สำคัญยิ่งก็คือ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เช่น
ความเสี่ยงจากการบริโภค พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีการบริโภคขนมขบเคี้ยวและน้าอัดลมจนเป็นปัญหาเกี่ยวกับเหงือกและฟันในอัตราสูงจนน่าตกใจ
- เด็กและเยาวชนไทยยังคงดื่มน้าอัดลม หรือดื่มน้ำหวาน ดื่มบ่อยๆ
 - เด็กและเยาวชนไทยกินขนมกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ข้าวโพดอบเนย (ขนมถุง)
การดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวานและขนมกรุบกรอบบ่อยๆ จะทำให้เด็กอ้วน ฟันผุ อีกทั้งเกลือและผงปรุงรสที่มีปริมาณมากในขนมประเภทกรุบกรอบที่กินเข้าไป ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจนาไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคเบาหวานในอนาคต ซึ่งความเสี่ยงจากการบริโภคทวีความรุนแรงขึ้น
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก  กำลังกายไหม)

                -น้อยมาก
    เนื่องจากเด็กไทยในปัจจุบัน ไม่ค่อยให้ความสนใจกับกีฬามากนักเพราะว่าเด็กให้ความสนใจกับอย่างอื่นมากกว่ากีฬา เช่น ไปเที่ยว ไปทำกิจกรรมอื่นๆ อยากให้ทางโรงเรียนแต่ละโรงเรียนมีกิจกรรมกับนักเรียน เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ และให้ความสำคัญกับกีฬาให้มากเพราะว่าเด็กไทยจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง
       3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด (ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)


                  - เด็กนั้นมีการควบคุมอารมณ์ได้นั้นขึ้นอยู่กับเหตุการณ์แต่ละสถานการณ์ บางเหตุการณ์นั้นไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ เพราะว่าเหตุการณ์นั้นมันรุนแรงมากเกินไป จนทำให้เด็กนั้นไม่สามารถที่จะแก้ไขมันได้
       เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กๆ ต้องเผชิญกับความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ พ่อแม่ผู้ควรให้ความรักและเอาใจใส่เด็กๆ อย่างเหมาะสมและใกล้ชิด ควรฝึกควบคุมอารมณ์ของเด็ก  

       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
                  - สุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆนั้น มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กมาก ถ้าเราอยากให้เด็กมีสมองที่ดีนั้น ต้องควบคู่ไปกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีด้วย ถ้าเด็กมีสุขภาพจิตไม่ดี เด็กก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงการเรียนได้และจะทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง
    ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นครูเราต้องฝึกให้เด็กออกกำลังกาย เพื่อเด็กที่จะมีสมองที่ดี และเด็กก็จะสามารถที่จะเข้าถึงการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
                 -เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนให้มาก และสังเกต พฤติกรรมของนักเรียนในแต่ละคน ว่านักเรียนแต่ละคนนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร หลังจากนั้นให้เด็กนั้นทำแบบประเมินว่าเด็กคนไหนนั้นอยู่ในอัตราเสี่ยงในเรื่องความเครียดหรือไม่  หลังจากนั้นก็สามารถที่จะจำแนกเด็กกลุ่มเสี่ยงในเรื่องความเครียดได้

   6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)

- สำหรับเด็กที่มีปัญหาครูต้องให้ความสนใจกับเด็กพวกนี้ให้มาก เพื่อเราจะต้องทำความคุ้นเคยกับเด็กให้มาก ถ้าเด็กที่มีปัญหาเราในฐานะที่เป็นครูก็จะสามารถที่จะช่วยเด็กได้ และเด็กก็จะเกิดความสนิทสนมกับครูที่ คอยให้ความช่วยเหลือเขาอยู่ตลอด

7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
-โรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต  เพราะว่าเด็กนั้นจะได้มีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองได้ ในเป้าหมายหนึ่ง

8 โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด 
                -น้อยมาก เพราะว่าทางโรงเรียนไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก แต่จะให้ความสำคัญเรื่องการเรียน มากกว่า แต่จะเป็นบางโรงเรียน เท่านั้นที่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
                -มี เพราะว่าจะได้รู้ว่าเด็กนั้นมีสุขภาพจิตดี หรือไม่ ถ้าเด็กนั้นมีปัญหาก็สามารถที่จะแก้ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น