วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
-การทำงานส่งอาจารย์ทางบล็อกนั้น ทำให้เรามีความคิดที่หลากหลาย และยังเป็นความคิดของตัวเองอีกด้วย และยังจะช่วยให้เรามีความรู้เรื่องบล็อก สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์เวลาที่ออกฝึกสอนได้
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
                -ในการเรียนรู้เรื่องบล็อกนั้นได้ความรู้มากมาย ได้แก่
1.สามารถที่จะสร้างบล็อกได้
2.สามารถที่จะทำ สไลด์โชว์ได้
3.สามารถที่จะใส่เพลงได้
4.สามารถลิงค์ข้อมูลได้
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

               -สำหรับดิฉันคิดว่า มีความสะดวกมาก และมีประโยชน์มาก ในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เพราะว่า  สามารถที่จะสอนให้เด็กนั้นมีโอกาสที่จะได้แสดงความคิดเห็นของตัวเอง ลงในบล็อก และสามารถที่จะนำเสนอได้หลายวิธีการ และเนื้อหาในบล็อกก็น่าสนใจ น่าอ่าน และที่สำคัญอย่างยิ่งดิฉันดีใจมากที่ ทำบล็อกได้ ถ้าอาจารย์ไม่ได้มาสอนพวกหนู พวกหนูคงจะทำบล็อกไม่ได้ ดิฉันจะนำความรู้ที่อาจารย์ได้สอนทั้งหมดนั้น ไปประกอบอาชีพให้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
       

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
- การจัดการกับห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพที่สุดที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งต้องอาศัยทั้งทางด้านผู้สอนและผู้เรียนที่ที่ต้องร่วมมือกันโดยจะมีครูเป็นแกนนำและคอยชี้แนะนักเรียนรวมไปถึงการต้องมีกระบวนการในการปรับปรุงห้องเรียน จัดภูมิทัศน์ของโรงเรียน  ให้มีลักษณะของห้องเรียนที่ดี  จนทำให้นักเรียนมีความร่วมมือด้วยและครูมีหน้าที่สำคัญในการจัดการชั้นเรียนคือ  การจัดการเรียนสอนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด  ให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา  นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนได้  โดยอาจจะมีการให้คำชมเชยหรือให้รางวัลดังนั้นการจัดการชั้นเรียนที่ดีครูควรมีการจัดระบบ วางแผนและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. Happiness Classroom
-การจัดห้องเรียนให้มีความสุข โดยครูกับนักเรียนต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดผลดีต่อผู้เรียนและผู้สอนแล้วก็ร่วมไปถึงเด็กกับครูก็จะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญเช่นเดียวกัน
3. Life-long Education
-การจัดการศึกษาทางไกลซึ่งเป็นวิธีการจัดการศึกษาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของทุกคน การพัฒนาโครงสร้างทางวิชาการของการศึกษาทางไกล จึงจำเป็นที่ต้องให้โอกาสการเรียนรู้และให้ประสบการณ์แก่ทุกคนตามความสนใจและความถนัด โดยสะดวกและต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งนี้โดยอาศัย2. formal Education
-การศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการ4. non-formal education
-การศึกษานอกระบบหรือ Non-formal Education (NFE) ซึ่งได้นิยามการศึกษานอกระบบ คือ การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
5. E-learning
-การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซเรย์ หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite)
6. Graded
- การ เรียนระดับชั้น ก็คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
7. Policy education
- นโยบายการศึกษา
8. Vision
-ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด
9. Mission
-พันธ์กิจมีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธานพันธ์กิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้น มาหรือดำรงอยู่เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
10. Goals
-เป้าหมาย คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
11. Objective
-เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงทีเราต้องการจะไปหรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
12. backward design
- การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการ พัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูพันธ์ใหม่หรือมืออาชีพเพื่อ เรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกันครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อ เนื่องแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา
13. Effectiveness
- การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
14. Efficiency
- การทำงานอย่างมีประสิทธิผล
15. Economy
- การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง จากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้
                       1.   การผลิต คือ การกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ หากการกระทำใดซึ่งผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ การกระทำนั้นในความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิต และผลของการกระทำก็ไม่เรียกผลผลิต อาจจะเรียกเป็นผลงาน
                        2.  การจำหน่าย คือ การนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการ
16. Empowerment
-การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้ กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจเพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถี ชีวิตวิถีการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืนในที่สุด
17. Engagement
-การทำให้ พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับ องค์กรด้วยคือไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กรรู้สึกดีกับองค์กรก็เลยไม่อยากไปไหนแต่ก็ไม่สามารถสร้าง ผลงานใดๆที่ดีขึ้นด้วย
18. Project
-โครงการคือกิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์
19. Activies
-การกระตือรือร้นในการทำให้ตัวเองดูดี และการกระทำที่ตัวเองมีความรู้สึกว่า สดชื่นและ มี ชีวิตชีวา
20. Leadership
-ความสามารถในการเป็นผู้นำ
21. Leaders
-ผู้นำในการบริหารการจัดการชั้นเรียน
22. Follows
-ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม,  เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
23. Situations
-สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับมนุษย์ที่ต้องการความสะดวกสบายในการดำเดินชีวิตประจำวัน
24. Self awareness
- การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
25. Communication
- การสื่อสาร (Communication) เป็น กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
26. Assertiveness
-พฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์เชิงบวกเพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตนหากเขาไม่เห็นด้วย
27. Time management
-การบริหารเวลาในการประกอบการต่างๆ
28. POSDC0RB
-หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่  7 ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การบรรจุ การสั่งการ การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ
29. Formal Leaders
 -การพูดอย่างเป็นทางการได้แก่การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตองเป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ และเพื่อจุดมุ่งหมายต่างกันเป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูดซึงสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี ภาษาต้องสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
30. Informal Leaders
- ผู้นำที่ไม่ใช้ผู้บังคับบันชาเช่นผู้นำของชลเผ่า
31. Environment
- ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
32. Globalization
- ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน บุคลิกภาพ” (Personality) หรือ จิตวิญญาณ” (Spirit) ขององค์การ]
 33. Competency
-ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
34. Organization Cultural
-ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้แนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น
35. Individual Behavior
-วัฒนธรรมองค์กรพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยกันเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตนดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
36. Group Behavior
-การอยู่ร่วมกัน ในกลุ่ม เป็นพวก เป็นหมู่ เป็นต้น
37. Organization Behavior
-พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) เป็น รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working
-กลุ่มคนทำงานหรือเล่นกีฬาในกลุ่มเดียวกัน[กำลังการ]เป็นผลสำเร็จ
39. Six Thinking Hats
   - Six Thinking Hats หมายถึง หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้
           1.สีขาว(Information) หมวกใบนี้จะหมายถึง ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น
           2.สีแดง(Feelings) หมวกใบนี้จะหมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งๆนั้น
3.สีเขียว(Creativity) หมวกใบนี้จะหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์
4.สีเหลือง(Benefits) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองโลกในแง่ดี
5.สีดำ (Judgment) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองตรงกันข้าม
                6.สีน้ำเงิน(Thinking about thinking) หมวกใบนี้จะหมายถึง การจัดการความคิดทั้งหมด

40. Classroom Action Research
-การวิจัยในชั้นเรียน

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิดอย่างเป็นระบบ และถ่ายทอดออกมาทางผังความคิด จะช่วยให้สามารถพัฒนาสมองของผู้เรียนทั้งซีกซ้ายและซีกขวา และเป็นการสรุปเนื้อหา หรือบทเรียนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
                การใช้ผังความคิดเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีการเรียนรู้ 4 ประการด้วยกัน
                1. การแยกแยะข้อมูลเพื่อให้เห็นองค์ประกอบหลักที่เชื่อมโยงกันอยู่อย่างชัดเจน สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ได้ง่ายขึ้น
                2. หากสมองมีการจัดโครงสร้างความรู้ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ จะช่วยเรียกความรู้เดิมที่มีอยู่ในโครงสร้างทางปัญญาออกมาใช้เชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ได้ง่ายขึ้น
                3.ผังความคิด ที่แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบหลักของเรื่อง มีลักษณะเป็นภาพซึ่งง่ายต่อการที่สมองจะจดจำมากกว่าข้อความที่ยืดยาวต่อกัน
                4. การใช้ผังความคิด ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งภาพและข้อความ สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างตื่นตัว (Active learning) เนื่องจากผู้เรียนจะต้องมีทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด จึงจะสามารถทำผังกราฟิกออกมาได้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย

ข้อดีของการสอนแบบ Mind Mapping
    1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
    2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
    3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
    4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
    5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ


"หมวกความคิด 6 ใบ"
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้เอื้อต่อการพัฒนาการคิดมีหลาย ให้วางเรียงขนานกันไว้แล้วประเมินผลได้เสียอย่างเป็นระบบ
          1. หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลที่เป็นกลาง มีลักษณะเป็นปรนัย ถ้าสมาชิกสวมหมวกสีขาวจะ หมายถึง การขอร้องให้สมาชิกคนอื่นเงียบ ถ้าผู้สวมหมวกสีขาวถามผู้ใด ผู้นั้นต้องให้ข้อเท็จจริง ความรู้ หรือข้อมูลแก่สมาชิก
          2. หมวกสีแดง สีแดงแทนความรู้สึก อารมณ์ สัญชาตญาณ ความหยั่งรู้ ถ้าสวมหมวกสีแดง คือต้องการให้สมาชิกแสดงความรู้สึกของตนต่อเรื่องราวหรือปัญหานั้น ๆ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี กลัว ชื่นชม สงสัย
          3. หมวกสีดำ เป็นสีมืดครื้ม จึงแสดงความคิดทางลบ เหตุผลในการปฏิเสธ การคิดแบบหมวกสีดำช่วยป้องกันไม่ให้คิดหรือตัดสินใจอย่างง่าย ๆ การสวมหมวกสีดำคือความต้องการให้บอกข้อบกพร่อง ทำให้สามารถ มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้า รวมทั้งช่วยตรวจสอบหาเหตุผล หาผลกระทบ หาความเหมาะสม และการ สำรวจความเป็นไปได้ เราจะไม่ใช้หมวกสีดำในกรณีที่ต้องการความคิดใหม่ ๆ
          4. หมวกสีเหลือง สีเหลืองเป็นสีที่สว่างไสว จึงแทนสิ่งที่ถูกต้องหรือ การให้กำลังใจ หมวกสีเหลืองจึง หมายถึงเหตุผลทางบวก การสร้างความมั่นใจ เหตุผลในการยอมรับหรือประโยชน์ การสวมหมวกสีเหลือง คือ ความต้องการข้อมูลด้านบวก จุดเด่น คุณค่า ประโยชน์ต่อส่วนรวม
          5. หมวกสีเขียว เปรียบสีเขียวกับธรรมชาติ คือ ความเจริญเติบโต ความคิดใหม่ หมวกสีเขียวคือ การหลีกความคิดเก่า ๆ มุมมองเก่า ๆ ไปสู่ความคิดใหม่ มุมมองใหม่ ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างสรรค์ทุกชนิด ทุกประเภท
          6. หมวกสีฟ้า เปรียบสีฟ้าเหมือนท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง หมวกสีฟ้า จึง หมายถึงการควบคุมและจัดระเบียบกระบวนการและขั้นตอนการใช้หมวกสีอื่น ๆ นั่นเอง รวมทั้ง การควบคุมบทบาทการทำงานของสมาชิกในกลุ่มและกระบวนการทำงาน ตลอดจนการประสานความคิดต่าง ๆ ให้สอดคล้องต้องกัน ผู้สวมหมวกสีฟ้าจะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมกระบวนการคิดของกลุ่ม ฉะนั้นหมวกสีฟ้าก็คือโครงสร้างของกระบวนการคิดนั่นเอง
          แนวคิดของ "หมวกความคิด 6 ใบ" สามารถนำมาดัดแปลงใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทุกระดับ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ครูอาจใช้สื่อคือหมวก 6 ใบ ที่เป็นรูปธรรม คือ มีหมวกตามสีต่าง ๆ ที่กำหนดเป็นสื่อการสอน แต่ถ้าเป็นการสอนในระดับอุดมศึกษา ครูไม่จำเป็นต้องใช้หมวกจริง เพียงแต่ทำความเข้าใจแนวคิดและความหมายของหมวกแต่ละ สีว่าเป็นการกำหนดให้นักศึกษาอภิปรายหัวข้อเรื่องหรือประเด็นนั้นในแนวคิดใดก็เพียงพอแล้ว เพราะเมื่อนักศึกษาได้รับการฝึกฝนให้ใช้ระบบ การคิดแบบคู่ขนานบ่อย ๆ ในที่สุดเขาจะสามารถเชื่อมโยงสี ของหมวกกับแนวคิดที่เขาจะอภิปรายได้อย่างคล่องแคล่ว

การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้ชีวิตแบบสวมหมวกคิด 6 ใบ จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่างสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น



กิจกรรมที่ 13

        
 1) ในปัจจุบัน เด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
-ไม่เหมาะสม
 เนื่องจากในปัจจุบัน เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและอันตรายต่อสุขภาพ ด้วยสาเหตุจากการละเลยไม่ดูแลสุขภาพและที่สำคัญยิ่งก็คือ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เช่น
ความเสี่ยงจากการบริโภค พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีการบริโภคขนมขบเคี้ยวและน้าอัดลมจนเป็นปัญหาเกี่ยวกับเหงือกและฟันในอัตราสูงจนน่าตกใจ
- เด็กและเยาวชนไทยยังคงดื่มน้าอัดลม หรือดื่มน้ำหวาน ดื่มบ่อยๆ
 - เด็กและเยาวชนไทยกินขนมกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ข้าวโพดอบเนย (ขนมถุง)
การดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวานและขนมกรุบกรอบบ่อยๆ จะทำให้เด็กอ้วน ฟันผุ อีกทั้งเกลือและผงปรุงรสที่มีปริมาณมากในขนมประเภทกรุบกรอบที่กินเข้าไป ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจนาไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคเบาหวานในอนาคต ซึ่งความเสี่ยงจากการบริโภคทวีความรุนแรงขึ้น
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก  กำลังกายไหม)

                -น้อยมาก
    เนื่องจากเด็กไทยในปัจจุบัน ไม่ค่อยให้ความสนใจกับกีฬามากนักเพราะว่าเด็กให้ความสนใจกับอย่างอื่นมากกว่ากีฬา เช่น ไปเที่ยว ไปทำกิจกรรมอื่นๆ อยากให้ทางโรงเรียนแต่ละโรงเรียนมีกิจกรรมกับนักเรียน เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ และให้ความสำคัญกับกีฬาให้มากเพราะว่าเด็กไทยจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง
       3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด (ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)


                  - เด็กนั้นมีการควบคุมอารมณ์ได้นั้นขึ้นอยู่กับเหตุการณ์แต่ละสถานการณ์ บางเหตุการณ์นั้นไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ เพราะว่าเหตุการณ์นั้นมันรุนแรงมากเกินไป จนทำให้เด็กนั้นไม่สามารถที่จะแก้ไขมันได้
       เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กๆ ต้องเผชิญกับความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ พ่อแม่ผู้ควรให้ความรักและเอาใจใส่เด็กๆ อย่างเหมาะสมและใกล้ชิด ควรฝึกควบคุมอารมณ์ของเด็ก  

       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
                  - สุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆนั้น มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กมาก ถ้าเราอยากให้เด็กมีสมองที่ดีนั้น ต้องควบคู่ไปกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีด้วย ถ้าเด็กมีสุขภาพจิตไม่ดี เด็กก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงการเรียนได้และจะทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง
    ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นครูเราต้องฝึกให้เด็กออกกำลังกาย เพื่อเด็กที่จะมีสมองที่ดี และเด็กก็จะสามารถที่จะเข้าถึงการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
                 -เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนให้มาก และสังเกต พฤติกรรมของนักเรียนในแต่ละคน ว่านักเรียนแต่ละคนนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร หลังจากนั้นให้เด็กนั้นทำแบบประเมินว่าเด็กคนไหนนั้นอยู่ในอัตราเสี่ยงในเรื่องความเครียดหรือไม่  หลังจากนั้นก็สามารถที่จะจำแนกเด็กกลุ่มเสี่ยงในเรื่องความเครียดได้

   6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)

- สำหรับเด็กที่มีปัญหาครูต้องให้ความสนใจกับเด็กพวกนี้ให้มาก เพื่อเราจะต้องทำความคุ้นเคยกับเด็กให้มาก ถ้าเด็กที่มีปัญหาเราในฐานะที่เป็นครูก็จะสามารถที่จะช่วยเด็กได้ และเด็กก็จะเกิดความสนิทสนมกับครูที่ คอยให้ความช่วยเหลือเขาอยู่ตลอด

7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
-โรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต  เพราะว่าเด็กนั้นจะได้มีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองได้ ในเป้าหมายหนึ่ง

8 โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด 
                -น้อยมาก เพราะว่าทางโรงเรียนไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก แต่จะให้ความสำคัญเรื่องการเรียน มากกว่า แต่จะเป็นบางโรงเรียน เท่านั้นที่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
                -มี เพราะว่าจะได้รู้ว่าเด็กนั้นมีสุขภาพจิตดี หรือไม่ ถ้าเด็กนั้นมีปัญหาก็สามารถที่จะแก้ได้


กิจกรรมที่ 12

กระบี่
จากวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554
เวลาประมาณ 08:30 น.
ดิฉัน ครอบครัว และญาติ ไปงานแต่งที่จังหวัดกระบี่  ต่างคนต่างใส่ชุดสวยมาก  ไปกันประมาณ 4คันรถ กระบะ  ในขณะที่ได้เดินทางนั้นก็ได้มองไปข้างทางได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่น่าคาดขวัญขึ้น รถบรรทุกได้พุงชนกันกับรถกระบะ ยี่ห้อ ISUZU DMAX ทำให้รถกระบะพุ้งลงข้างทาง ทำให้ดิฉันนั้นรู้สึกหวาดกลัวมาก ต่างคนต่างรู้สึกตกใจมาก
เวลาประมาณ 12:30น.
ได้เดินทางไปยังเป้าหมาย ไปถึงได้เห็น เจ้าบ่าวและเจ้าสาวสวยมากจนทำให้ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนเช้า หลังจากนั้นก็ประทานอาหารกัน ต่างคนต่างเหนื่อยกันมาก แต่กับข้าวก็อร่อยมาก
เวลาประมาณ 14:00น.
หลังจากนั้นก็ได้ไปเที่ยวที่สุสานหอย ได้ไปซื้อของกันอย่างสนุกมากและได้เดินเที่ยวชม สถานที่ต่างๆ สิ้นค้าของเขาส่วนใหญ่ได้ทำมาจากเปลือกหอย สวยมาก ราคาก็ไม่แพงมากนัก จนทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจที่ได้มาเที่ยวที่สุสานหอย จังหวัด กระบี่

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อสอบ

1. Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้สอน  และครูก็จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   จะต้องมีความเมตตาและเป็นมิตรกับนักเรียน และที่สำคัญ ครูจะต้องเข้ากับเด็กได้ทุกคนและรู้รายละเอียดที่สำคัญในตัวนักเรียนด้วย  นอกจากนั้นการจัดการในชั้นเรียนครูควรให้ความสนใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียบกัน  รู้ว่าเด็กท่เราสอนอยู่ในวัยและชอบอะไร  เพื่อที่จะได้จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตัวผู้เรียน
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานความรู้ หมายถึง       ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ         ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
-  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
-  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
-  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
-  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
-  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
-  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
-  รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
-  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
-  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
-  ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
-  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
-  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตราฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง    ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
3. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน 
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน   ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
 1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค 
 5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
                คุณภาพผู้เรียนต้องประกอบด้วย
                 มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่าง
1.1 มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
2.1 รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
3.1 มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
3.2 เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.3 ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
3.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.5 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ



มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม
4.2 สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
4.3 ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
5.1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.2 มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.3 สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
6.1 มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
6.2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
7.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
7.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
7.4 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
7.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
8.1 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
8.3 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
                การพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
                โดยทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในรูปแบบของวิถีชีวิตไทย การออมทรัพย์วันละบาท และธนาคารแห่งคุณธรรม 
                การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
                1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
                2. ครูอาจารย์ ชมว่านักเรียนเป็นคนซื่อสัตย์ ทำผิดแล้วยอมรับผิด
                3. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
                4. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
                5. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นกัลยาณมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
                ทางโรงเรียนต้องจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเพื่อนรักรักเพื่อน" มุ่งเน้นให้นักเรียนกระทำตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ จึงเป็นเพื่อนที่รักของนักเรียนคนอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะเลือกคบเพื่อนรักที่เป็นคนดีและสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่รักของทุกคน ในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการคือ
                1. กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
                2. กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
                3. กิจกรรมธนาคารแห่งคุณธรรม กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
                เป็นการปฏิบัติตนของนักเรียน เริ่มตั้งแต่นักเรียนมาถึงโรงเรียนในตอนเช้าบริเวณประตูโรงเรียน บริเวณโรงอาหาร ในห้องเรียน ก่อนเข้าแถว การเล่นนอกห้องเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติ โฮมรูม การเข้าแถวไปเรียนวิชาพิเศษ มารยาทในห้องเรียน การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การรับประทานอาหารกลางวัน การทิ้งขยะ การรอผู้ปกครอง การกลับรถรับ - ส่ง
กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
                นักเรียนในแต่ละห้องฝากเงินออมทรัพย์ประจำวัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของห้อง และเมื่อสิ้นปีการศึกษา ประมาณต้นเดือนมีนาคมอาจารย์ที่ปรึกษา เบิกเงินจากธนาคารจ่ายคืนให้คณะกรรมการ นักเรียนที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อจ่ายคืนแก่ผู้ฝากแต่ละห้อง ตามจำนวนเงินในหลักฐานสมุดบัญชีของห้อง