แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส41101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมไทย
เรื่อง สังคมมนุษย์ เวลา 2 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
มีทฤษฎีเกี่ยวกับการกำเนิดสังคมมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการพื้นฐาน สังคมมีองค์ประกอบ
และมีปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต้องมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วิเคราะห์ทฤษฎีการกำเนิดสังคมที่เป็นที่ยอมรับได้อย่างสมเหตุสมผล อธิบายลักษณะของ
สังคมมนุษย์ ความต้องการของมนุษย์และองค์ประกอบของสังคม และอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้มนุษย์
ต้องมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ตอบคำถามเป็นรายบุคคลได้
2. อธิบายทฤษฎีการกำเนิดสังคมที่เป็นที่ยอมรับได้
3. วิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ได้
4. อธิบายองค์ประกอบของสังคมได้
5. อธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต้องมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้
6. วิเคราะห์คำหรือวลีสำคัญที่เป็นความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย ตามสาระ
การเรียนรู้ที่กำหนดได้
7. อธิบายและสรุปวิธีเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้ได้
8. กลุ่มย่อยร่วมกันเรียนรู้และเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้ตามสาระการเรียนรู้ได้
สมบูรณ์ สวยงาม และน่าสนใจ
สาระการเรียนรู้
ทฤษฎีกำเนิดสังคมมนุษย์ ลักษณะสังคมมนุษย์ องค์ประกอบทางสังคม ความต้องการของ
มนุษย์และมูลเหตุที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. สำรวจความพร้อมของนักเรียน
2. นักเรียนแบ่งกลุ่มย่อย และปฏิบัติตามใบงานที่ 1
3. แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้และคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนา
ขั้นสอน
1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา แนะนำ สาระการเรียนรู้ แนะนำแหล่งเรียนรู้ วิธีการ
เรียนรู้ วิธีการวัดผลประเมินผล
2. ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนแผนผังความคิดประเภทต่าง ๆ
3. ครูและนักเรียนรวมกับทบทวนวิธีการเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้ ตามใบความรู้
ที่ 1 และตัวอย่างแผนผังความคิดแบบรากไม้
4. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายและซักถามเพิ่มเติม
5. ครูนำให้สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติตามใบงานที่ 1 รับผิดชอบร่วมกัน ร่วมกันเรียนรู้ตาม
สาระการเรียนรู้ที่กำหนด เอาใจใส่ สนใจใฝ่เรียนรู้อย่างแท้จริง
6. ตัวแทนกลุ่มรับอุปกรณ์ในการเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้ ใบงานที่ 1 และใบ
ความรู้ที่ 1 ถึงใบความรู้ที่ 4
7. สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามใบงานที่ 1
8. สมาชิกทุกคนศึกษาใบความรู้ที่ 1 ถึงใบความรู้ที่ 4
9. ประธานกลุ่มนำสนทนาเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเขียนคำหรือวลีสำคัญที่วิเคราะห์ได้จาก
การศึกษาใบความรู้เป็นความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย ใบความรู้ละ 3 คำ เขียนลง
ในกระดาษเปล่าที่แจกให้แล้วค่อยเพิ่มด้วยวาจาในภายหลัง เพื่อให้การเขียนแผนผังความคิดแบบราก
ไม้มีความสมบูรณ์ตามสาระการเรียนรู้
10. ประธานให้สมาชิกแต่ละคนเสนอคำหรือวลีสำคัญตามลำดับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในใบ
ความรู้ทีละคน เริ่มจากความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มช่วย
วิเคราะห์และขัดเกลาข้อความ ให้กะทัดรัด สื่อความหมายได้ชัดเจน ปฏิบัติเช่นนี้จนครบตามสาระ
การเรียนรู้ที่กำหนดและสมาชิกสามารถเสนอคำหรือวลีเพิ่มเติมได้
11. เลขานุการกลุ่ม และผู้สรุปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายในกิจกรรมข้อ 10 และ
จัดทำร่างแผนผังความคิดแบบรากไม้
12. ระหว่างนักเรียนกำลังร่วมกันเรียนรู้ จากใบความรู้ ครูคอยกำกับ คอยแนะนำช่วยเหลือ
ทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง
13. ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอผลงานการเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้หน้าชั้น
เรียนประมาณ 5 กลุ่ม
ขั้นสรุปบทเรียน
1. นักเรียนตอบคำถามครูเป็นรายบุคคล
2. นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ตามใบงานที่ 2
3. ครูเสนอจุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุง ของผลงานและการร่วมมือกันเรียนรู้
4. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปบทเรียน
5. นักเรียนสรุปย่อสาระการเรียนรู้ลงในสมุดของตน
6. ให้แต่ละกลุ่มนำผลงานไปแก้ไขปรับปรุงให้สมบูรณ์ สวยงาม และน่าสนใจ แล้วนำ
กลับมาส่งครูในชั่วโมงหน้า
7. ครูแนะนำให้นักเรียนไปศึกษาเอกสารหรือหนังสือประกอบการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา
สาสนาและวัฒนธรรม (ส 41101) จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ห้องสมุดกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
ห้องสมุดโรงเรียน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. ใบงาน 1 การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่ม
2. ใบความรู้ที่ 1 วิธีการเขียนแผนผังความคิดแบบรากไม้
3. ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ทฤษฎีกำเนิดสังคมมนุษย
4. ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์
5. ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง ความหมายของสังคมและองค์ประกอบของสังคม
6. ใบงานที่ 2 แบบทดสอบย่อย
7. ตัวอย่างแผนผังความคิดแบบรากไม้
8. กระดาษอัดสำเนาเปล่า ดินสอ ยางลบ ดินสอสีไม้
9. เอกสาร/หนังสือประกอบการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 41101)
การวัดผลและประเมินผล
1. แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2. แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
3. แบบประเมินผลงานกลุ่ม
4. การทำกิจกรรมทดสอบย่อย
5. ตรวจผลงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น