ศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์
1.ประวัติส่วนตัวศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2486 ทีกรุงเทพมหานคร ศ.ดร. ยอดหทัย เป็นบุตรคนโตของ นายนคร และนางสอิ้ง เทพธรานนท์ มีน้องชายคือ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สถาปนิกดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์สมรสกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายศรวัส และนายอิทธิ เทพธรานนท์
การศึกษา
ศึกษาในระดับประถม และมัธยม จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี เมื่อปี พ.ศ. 2508 และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอินทรีย์เคมี เมื่อปี พ.ศ. 2511 จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอินทรีย์เคมี จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2515 ด้วยทุนโคลัมโบ (Colombo Plan Scholarship) จากนั้นได้ฝึกอบรมการวิจัย ระดับ Post-doctoral Training ทางสาขาวิชาออร์แกโนเมทาลิค (Organo-metallic Chemistry) ณ มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2518-25192.ผลงาน
ศ.ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ เป็นนักเคมีอินทรีย์ ที่ทำการวิจัยทางด้านการค้นหาสารเคมีจากธรรมชาติ ที่แสดงฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive Natural Products) และทางด้านอินทรีย์เคมีสังเคราะห์ (Organic Synthesis) ของสารออกฤทธิ์ดังกล่าว ซึ่งได้นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจ สูตรโครงสร้างต่างๆ ตลอดไปจนถึง การเข้าใจกรรมวิธี ที่สิ่งมีชีวิตผลิตสารเหล่านั้นขึ้นมา และการนำมาใช้ประโยชน์กับมนุษย์ เช่น การแยกและพิสูจน์สูตรโครงสร้างของสารในกลุ่ม Cyclohexene Epoxides ซึ่งสกัดได้จากต้นไม้ในสกุล Uvaria และการเข้าใจกลไกชีวสังเคราะห์ของสารกลุ่มดังกล่าว ในด้านอินทรีย์เคมีสังเคราะห์ ได้ค้นพบปฏิกิริยาใหม่ ที่มีประโยชน์หลายปฏิกิริยา ซึ่งมีความสำคัญอันนำไปสู่กรรมวิธีใหม่ ในการสังเคราะห์สารเคมีที่มีโครงสร้างซับซ้อนหลายชนิด ในกลุ่ม Cyclopentenoid Antibiotics เช่น สังเคราะห์สารที่แยกได้ จากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อ Sarkomycin ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งยาปฏิชีวนะ และมีผลในการทำลายเซลล์มะเร็ง ตลอดจนสังเคราะห์ Diospyros อันเป็นสารออกฤทธิ์ถ่ายพยาธิ ในลูกมะเกลือ ศ.ดร. ยอดหทัยได้ร่วมงานกับนักวิจัยของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผลิตผลงานวิจัยที่ดีเป็นจำนวนมาก ในเรื่องสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อราที่ก่อโรคต่อแมลง (Insect Pathogenic Fungi) และยังได้ทำการศึกษาด้าน Physical Organic Chemistry ที่เป็นพื้นฐานในการนำไปเป็น "ต้นตอ" ของงานวิจัย ทางด้านอินทรีย์เคมีสังเคราะห์ อันเป็นผลให้สามารถทำการสังเคราะห์สารที่แสดงฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อรา อันมีโครงสร้างและ Stereochemistry ที่ซับซ้อนอีกด้วย ศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในวารสารนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล จำนวนทั้งสิ้นกว่า 118 เรื่อง ได้รับการอ้างอิงจากฐานข้อมูลนานาชาติ (Science Citation Index) จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1,016 ครั้ง และจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ทำให้ ศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย ได้รับเชิญจากสำนักพิมพ์ John Wiley & Sons ให้เขียนบทที่ 7 เรื่อง "Synthesis of Enones" (82 หน้า) ในหนังสือ "The Chemistry of Enones" (S. Patai and Z. Rappoport, Eds) ในปี พ.ศ. 2532 และจากสำนักพิมพ์ CRC Press, USA ให้เขียนหนังสือทั้งเล่ม เรื่อง "Cyclization Reactions" (370 หน้า) ที่จำหน่ายไปทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2537 อีกด้วย
3.เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไรดิฉันชอบผลงานของท่านเพราะว่าท่านนั้นได้คิดค้นสิ่งใหม่ๆเพื่อที่จะให้ประชาชาติได้นำสิ่งที่ท่านนั้นได้คิดค้นสิ่งต่างๆที่ท่านได้ทำเอาไว้เป็นแบบและนำไปใช้ในการทำงานของดิฉันได้
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/